กรณีศึกษา
Case 1 อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือแพทย์ ได้ใช้วัสดุยางอีพีดีเอ็ม (EPDM Rubber) ทำเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักร แต่ประสบปัญหาที่ว่าอายุการใช้งานของชิ้นส่วนยางที่ทำขึ้นจากยางอีพีดีเอ็มนั้น ทนความร้อนได้ระดับ 160 °C ซึ่งทำให้อายุการใช้งานนั้นสั้นลง
Ans ทางบริษัท ฯ เล็งเห็นว่าทางอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือแพทย์แห่งนี้ควรที่จะเปลี่ยนวัสดุยางที่ใช้ในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักอุตสาหกรรมใหม่จากเดิมยางอีพีดีเอ็ม (EPDM Rubber) เป็นยางซิลิโคน (Silicone Rubber) ซึ่งทนความร้อนสูงถึง 220 °C ทำให้เกิดความคุ้มค่าและช่วยยืดอายุการใช้งานของอุตสหกรรมการผลิตถุงมือแพทย์แห่งนี้ จึงได้เลือกใช้บริการของบริษัทฯจนถึงทุกวันนี้
ตัวอย่างชิ้นงาน
Case 2 บริษัทผงปรุงรสหรือซอสปรุงรส ได้ใช้วัสดุยางเอ็นบีอาร์ (NBR Rubber) ในการทำชิ้นส่วนสำหรับเครื่องจักร ซึ่งวัสดุยางเอ็นบีอาร์ (NBR Rubber) นั้นไม่มีความเหมาะสมในการเป็นวัสดุสำหรับสัมผัสอาหาร บริษัทผงปรุงรสแห่งจึงได้คิดเปลี่ยนวัสดุ และได้โทรมาปรึกษาทางฝ่ายเทคนิคของบริษัท โพลิเทคอินดัสทรี จำกัด
Ans บริษัท ฯ จึงได้นำเสนอ วัสดุที่เป็นยางซิลิโคน (Silicone Rubber) ซึ่งเป็นเกรดสัมผัสอาหาร (Food Grade) ให้กับทางอุตสาหกรรมแห่งนี้ แล้วนำไปทำชิ้นส่วนสำหรับเครื่องจักร ซึ่งมีความคงทนที่มากกว่าไม่ว่าจะเป็นความร้อน ความเย็น และที่สำคัญ ได้รับการรับรองว่าสัมผัสอาหารได้ FDA Reg. 21 CFR 177.2600.
ตัวอย่างชิ้นงาน
Case 3 อุตสาหกรรมยานยนต์ ได้คิดที่จะทำวัสดุเกี่ยวกับการแต่งรถ ต้องการชิ้นงานที่มีความสวยงาม และทนกับความร้อนสูงเพราะนำไปใช้รัดท่อรถ แล้วได้นำข้อมูลนี้มาสอบถามบริษัท
Ans บริษัทฯ ได้นำเสนอ ชิ้นส่วนที่ทำจากยางซิลิโคน (Silicone Rubber) เพราะมีคุณสมบัติ ที่มีความยืดหยุ่นสูง (High Tensile Strength) , มีความโปร่งใส (Transparent) เหมาะกับการเล่นสีสัน และทนความร้อนสูง (High Heat Resistance) ซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการของทางลูกค้า อุตสาหกรรมยานยนต์ จึงได้สั่งผลิตจากทางบริษัท ฯ
ตัวอย่างชิ้นงาน